วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เอาละได้เรื่องแล้ว
ครูแตน ครูแตน ครูแตนค่ะ อ่านเนื้อหาด้านขวามือนะคะ ด้านนี้เดี๋ยวจะลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ครูณัฐชยา บำรุงเวช ครู ค.ศ. 3 โรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม ต.บางแค อ.อัมพวา สพท.สมุทรสงคราม
ตอบข้อสอบ การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
หลักสูตรประกาศนียบัตร การบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2/2551
ผศ.สมคิด ดวงจักร์
โดย นางณัฐชยา บำรุงเวช เลขที่ 44
...............................
1.การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรโรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม อ.อัมพวา สพท.สมุทรสงคราม
มีดังนี้ คือ
1.1ในการบริหารระบบงาน ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้อำนาจสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการประสานงานกับบุคลากรในโรงเรียน กับชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันได้อย่างดียิ่ง
1.2ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สร้างประโยชน์ ให้ความรู้แก่บุคลากรในโรงเรียน การเผยแพร่ความรู้ การประชาสัมพันธ์โรงเรียนไปยังชุมชนโดยใช้ระบบสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง เชื่อถือได้
1.3ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง เมื่อต้องมีการตัดสินใจในระบบการบริหารโรงเรียน ผู้บริหารนำข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ประกอบการตัดสินใจ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณาถึงการดำเนินงานทั้งในระบบเชิงปริมาณ คุณภาพ การตัดสินใจ แก้ไข ปรับปรุงในกรณีที่มีความบกพร่อง ปรับ กลยุทธ์ แก้ปัญหา วางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดกรอบแนวความคิด ดังนี้
แนวความคิด | กระบวนการ | ผลกระทบ |
1.อำนาจสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย 2.การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร | -กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ พ.ร.บ.การศึกษา โดยการสร้างสัมพันธภาพที่ดี นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน การปฏิบัติงาน -ข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้ การนำไปใช้ อ้างอิง จากระบบสารสนเทศที่ผู้บริหาร | -บุคลากรมีความเชื่อมั่น และเข้าใจบทบาทผู้บริหารได้ดียิ่งขึ้น -บุคลากรได้รับรู้ รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ |
แนวความคิด | กระบวนการ | ผลกระทบ |
3.การตัดสินใจของผู้บริหาร | นำมาเผยแพร่ -ตัดสินใจแก้ปัญหา กำหนดแนวทางการบริหาร ตรวจสอบ ควบคุมผลการดำเนินงาน | -ผู้บริหารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในการตรวจสอบ ดูแลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน |
2.แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทด้าน ICTฉบับที่ 2 ของรัฐบาล
มีความเห็นด้วย ดังนี้
แนวทางจากแผนแม่บท | อรรถาธิบาย |
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านICTและบุคคลทั่วไปให้มีความสร้างสรรค์ ผลิต และใช้อย่างมีวิจารณญาณ 2.การจัดระบบICTระดับชาติ อย่างมีธรรมาภิบาล 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 4.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้าง | -แผนแม่บทมุ่งสร้าง พัฒนาคนให้มีความรู้และมีจำนวนมากเพียงพอในการพัฒนาประเทศ บุคคลที่มีความรู้ก็จะสามารถสร้างสรรค์งาน สามารถผลิต ใช้เป็น เกิดประโยชน์ ไม่จำเป็นที่จะปิดกั้นกลุ่มคนอื่น ๆ วิชาชีพอื่น ทุกคนมีความรู้ ความสามารถ ความคิดเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำคุณธรรมจริยธรรมมาควบคู่กับการใช้สื่อICTด้วยจิตสำนึกที่ดีงาม -ธรรมาภิบาลสร้างความเป็นเอกภาพ ความมีจิตสาธารณะ มุ่งสร้างประโยชน์ ความคิดช่วยเหลือ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมโดยการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร การจัดการ การจัดทำ เสนองบประมาณ การพัฒนาปรับปรุง กฎหมาย ฐานข้อมูลตัวชี้วัดซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ -สื่อICTที่มิได้ปิดกั้นในกลุ่มเฉพาะ แต่เปิดโลกกว้างให้กลุ่มผู้สนใจอย่างทั่วถึง รวมทั้งการมุ่งส่งเสริมให้กับผู้ประกอบการด้วย สังคมเป็นสุข ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็คือรากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ซึ่งในยุทธศาสตร์นี้ได้กำหนดมาตรการการขยายบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการ สร้างความมั่นคงในระบบสารสนเทศ พัฒนาโครงสร้างICTเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต และการเรียนรู้ตลอดชีวิต -หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร และการบริการคือสิ่งที่รัฐจัดหา จัดให้ใช้ICTเพื่อตอบสนองการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพทุก |
แนวทางจากแผนแม่บท | อรรถาธิบาย |
ธรรมาภิบาลในการบริหาร และการบริการ 5.ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมICTเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และรายได้ เข้าประเทศ 6.การใช้ICTเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน | ภาคส่วนมีความเกี่ยวข้องกันด้วยมาตรการสร้างความเข้มแข้งของหน่วยงาน มีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้ข้อมูลร่วมกัน และการพัฒนา บริการใช้สื่อICTในการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ -แผนแม่บทICTมุ่งพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ด้านงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศโดยการสนับสนุนเงินทุน ผู้ประกอบการรายใหม่ และการสร้างโอกาสทางการตลาดในการแข่งขันผู้ประกอบการ ส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมICT -ภาครัฐส่งเสริมภาคการผลิต การใช้ประโยชน์จากICT การใช้ฐานความรู้และนวัตกรรม โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการผลิต การบริการที่มีศักยภาพ โดยการสร้างความตระหนัก ความเชื่อมั่น ส่งเสริมการนำICTมาใช้ยกระดับศักยภาพในการแข่งขัน การประหยัดพลังงาน |
3.แสดงความคิดเห็นกับการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคม
มีความคิดเห็นที่สอดคล้องเห็นด้วย ด้วยเหตุผล ดังนี้
3.1กระบวนการทางกฎหมายสามารถขจัดภัยร้ายที่แอบแฝงมาจากจิตใจที่ผิดปกติ
คนฉลาดเรียนรู้ICT Internet เป็นอย่างดีอาจมีพวกที่ชอบสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นด้วยจิตใจที่ผิดปกติ ใช้ความฉลาดการใช้สื่อทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น กฎหมายเท่านั้นที่สามารถลงโทษคนพวกนี้ได้
3.2ขจัดพวกฉลาด แต่ขาดคุณธรรม
ในสังคมยุคสื่อ ICTมีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากในทุกแวดวงการศึกษา การประกอบสัมมาอาชีพ คนที่ฉลาดขาดคุณธรรมจะมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตนเอง คิดแต่จะนำสื่อ ICTสร้างรายได้ให้กับตนเอง ขาดสติยั้งคิดว่าจะทำความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น คนขาดคุณธรรมย่อมไม่เกรงกลัวผลกรรม จำเป็นต้องใช้กฎหมายลงโทษให้สาสมกับความผิด
3.3การมีกฎหมายรองรับผู้ใช้สื่อICT เป็นการป้องกันผู้ฉกฉวยผลประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมของผู้อื่น เพราะการถูกขโมยความคิดที่ตนเองได้สร้างสรรค์ จะสร้างความเบื่อหน่ายไม่อยากคิด ไม่อยากพัฒนา เป็นการปิดกั้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อมีกระบวนการทางกฎหมายลงโทษต่อผู้กระทำความผิดก็ย่อมเป็นหลักประกันในการไม่ให้ถูกขโมยความคิด
ครูณัฐชยา บำรุงเวช ครู ค.ศ. 3 โรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม ต.บางแค อ.อัมพวา สพท.สมุทรสงคราม ถนัดด้านการสอนภาษาอังกฤษค่ะ ก็ไม่ได้เก่งอะไรมากมายแต่ยินดีพูดคุยเพื่อค.ศ. 3 ภาษาอังกฤษกันได้ทุกท่านค่ะ ในโอกาสนี้จะขอมานำเสนอความรู้ทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง หรือที่เรียกว่า Brain based Learning BBL ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หลายโรงเรียนได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ BBL ไปใช้ เรามาเริ่มศึกษารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเลยนะคะ
คือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองซึ่งเป็นระบบประสาทส่วนกลางทั้งระบบ และมีการทำงานที่สัมพันธ์กันทั้งกับร่างกายและจิตใจ
การพัฒนาการทางสมองในแต่ละช่วงวัยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การจัดการเรียนรู้แบบ BBL ที่สามารถจัดได้ดีต้องมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้ สมองของผู้เรียนแต่ละคนมีแบบอย่างการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน มีความพร้อมในการเรียนรู้ในแต่ละระดับในช่วงอายุที่แตกต่างกัน